หัวไชเท้า(ผักกาดหัว)
ผักกาดหัว หรือ หัวไชเท้า
ภาษาอังกฤษคือ Radish หรือ White Radish
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Raphanus sativus var. longipinnatus
มีถิ่นกำเนิดที่ ประเทศจีน
ลักษณะ โดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวผักกาดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย (Subspecies)
หัวไชเท้า ตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานหัวไชเท้าไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่าง ๆเหล่านี้ก็จะบรรเทาอาการให้ดีขึ้น การรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆนั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
ประโยชน์ของหัวไชเท้า
- หัวไชเท้า เป็นผักที่หลาย ๆประเทศนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เมนูหัวไชเท้า เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ต้มจืดหัวไชเท้า ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด เป็นต้น
- ประโยชน์ของหัวผักกาด สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทองเชื่อว่ามีส่วนช่วยทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวลเหมือนคนหนุ่มสาว
- เป็นผักสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นหวัด มีอาการไอ คออักเสบเรื้อรังและมีเสียงแหบแห้ง ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในขวดแก้ว หลังจากนั้นโรคน้ำตาล 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืนแล้วรินน้ำดื่มเป็นประจำ
- คั้นเป็นน้ำดื่มดับกระหาย ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำขิง น้ำตาลทรายขาวพอหวาน แล้วนำมาต้มให้เดือดแล้วจิบบ่อย ๆ
- มีส่วนช่วยในการนอนหลับ
- มีส่วนช่วยแก้โรคประสาท
- หัวไชเท้าสรรพคุณ ช่วยลดความดันโลหิต
- หัวผักกาดมีสารลิกนิน (Lignin) ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
- หัวไชเท้ามีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยต่อต้านมะเร็ง
- ช่วยระงับอาการหอบ (เมล็ด)
- ช่วยในการเจริญอาหาร (ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย
- ช่วยขยายหลอดลมและหลอดเลือด
- ประโยชน์หัวไชเท้า ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
- ช่วยทำให้หายใจโล่งขึ้น
- แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ราก)
- สรรพคุณหัวไชเท้า ช่วยในการขับและละลายเสมหะ
- แก้อาการไอหอบมีเสมหะมาก (เมล็ด)
- ช่วยเรียกน้ำลาย (ราก)
- แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด (ราก)
- ช่วยรักษอาการต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง (ใบ,ทั้งต้น)
- ช่วยในการกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในการย่อยอาหาร
- สรรพคุณหัวผักกาดขาว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย (ใบ,ทั้งต้น)
- ชาวจีนเชื่อว่าหัวผักกาดมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพลังซี่ ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบย่อย
- ใช้เป็นยาระบาย (เมล็ด)
- ช่วยรักษาอาการท้องร่วง บิด
- ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
- ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
- ช่วยสมานลำไส้ (ราก)
- มีส่วนช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่น
- ช่วยบำรุงม้าม (ราก)
- ประโยชน์ของหัวไชเท้าช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ จึงช่วยกำจัดพิษและของเสียในร่างกาย
- แก้อาการผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้ใบสดน้ำมาคั้นเอาน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน
- ชาวจีนสมัยก่อนนำหัวผักกาดมาใช้รักษาโรคหัดในเด็ก
- ในญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้าดิบมาขูดเป็นฝอยลงในซีอิ๊วใช้เป็นน้ำจิ้ม
- มีการนำมาแปรรูปเป็นหัวไช้โป๊ว ดอกเค็ม ตากแห้งเพื่อรับประทาน
- ในตำราอาหารญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ต้มปลาหมึกตัวสดกับหัวไชเท้า ว่ากันว่าจะช่วยทำให้เนื้อปลาหมึกนุ่มมาก
- หัวไชเท้ารักษาฝ้ากระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นพอละเอียดแล้วใส่น้ำมะนาว 1 ช้อนแกงแล้วปั่นในโถอีกครั้งเป็นอันเสร็จ วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้าให้นำมาทาให้ทั่วผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้ากระให้จางลงได้
- หัวไช้เท้าพอกหน้า การรักษาหน้าด้วยหัวไชเท้าอีกสูตร วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดไม่ต้องปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆประมาณ 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในโถปั่น แล้วใส่จมูกข้าวสาลีตามลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วปั่นจนละเอียดเป็นอันเสร็จ แล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้า หรือพอกตามตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีแล้วจึงล้างออก ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง (สำหรับบางคนการใช้ในช่วงระยะแรกอาจจะมีอาการแสบแดงบ้างเล็กน้อย ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ หากทำไปสักระยะก็จะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น)
การแปรรูปผักกาดหัว
หัวไชโป้ว(Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวาน
อาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกัน
หัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
อาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกัน
หัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตาม
การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว
อุปกรณ์และวิธีทำ
วัตถุดิบ
วัตถุดิบ
1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
2. เกลือ
3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์
1. มีด
2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
3. กระด้ง
4. ถุงผ้า
วิธีทำ
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดดต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน
7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ 7 วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ 2 ชั่วโมง
2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม 1 ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน
5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
2. แช่น้ำปูนใสประมาณ 1 ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2 ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
4. ต้มน้ำปลา 1 ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้
การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=9GNardWZA6g
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น