วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว

หัวไชเท้า(ผักกาดหัว)


ผักกาดหัว หรือ หัวไชเท้า 
ภาษาอังกฤษคือ Radish หรือ White Radish 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Raphanus sativus var. longipinnatus
มีถิ่นกำเนิดที่ ประเทศจีน 
ลักษณะ โดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวผักกาดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย (Subspecies)
หัวไชเท้า ตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานหัวไชเท้าไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่าง ๆเหล่านี้ก็จะบรรเทาอาการให้ดีขึ้น การรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆนั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า


ประโยชน์ของหัวไชเท้า

  1. หัวไชเท้า เป็นผักที่หลาย ๆประเทศนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เมนูหัวไชเท้า เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ต้มจืดหัวไชเท้า ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด เป็นต้น
  2. ประโยชน์ของหัวผักกาด สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทองเชื่อว่ามีส่วนช่วยทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวลเหมือนคนหนุ่มสาว
  3. เป็นผักสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นหวัด มีอาการไอ คออักเสบเรื้อรังและมีเสียงแหบแห้ง ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในขวดแก้ว หลังจากนั้นโรคน้ำตาล 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืนแล้วรินน้ำดื่มเป็นประจำ
  4. คั้นเป็นน้ำดื่มดับกระหาย ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำขิง น้ำตาลทรายขาวพอหวาน แล้วนำมาต้มให้เดือดแล้วจิบบ่อย ๆ
  5. มีส่วนช่วยในการนอนหลับ
  6. มีส่วนช่วยแก้โรคประสาท
  7. หัวไชเท้าสรรพคุณ ช่วยลดความดันโลหิต
  8. หัวผักกาดมีสารลิกนิน (Lignin) ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  9. หัวไชเท้ามีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยต่อต้านมะเร็ง
  10. ช่วยระงับอาการหอบ (เมล็ด)
  11. ช่วยในการเจริญอาหาร (ใบ,ทั้งต้น)
  12. ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย
  13. ช่วยขยายหลอดลมและหลอดเลือด
  14. ประโยชน์หัวไชเท้า ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
  15. ช่วยทำให้หายใจโล่งขึ้น
  16. แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ราก)
  17. สรรพคุณหัวไชเท้า ช่วยในการขับและละลายเสมหะ
  18. แก้อาการไอหอบมีเสมหะมาก (เมล็ด)
  19. ช่วยเรียกน้ำลาย (ราก)
  20. แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด (ราก)
  21. ช่วยรักษอาการต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง (ใบ,ทั้งต้น)
  22. ช่วยในการกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในการย่อยอาหาร
  23. สรรพคุณหัวผักกาดขาว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย (ใบ,ทั้งต้น)
  24. ชาวจีนเชื่อว่าหัวผักกาดมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพลังซี่ ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบย่อย
  25. ใช้เป็นยาระบาย (เมล็ด)
  26. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง บิด
  27. ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  28. ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
  29. ช่วยสมานลำไส้ (ราก)
  30. มีส่วนช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่น
  31. ช่วยบำรุงม้าม (ราก)
  32. ประโยชน์ของหัวไชเท้าช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ จึงช่วยกำจัดพิษและของเสียในร่างกาย
  33. แก้อาการผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้ใบสดน้ำมาคั้นเอาน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  34. ชาวจีนสมัยก่อนนำหัวผักกาดมาใช้รักษาโรคหัดในเด็ก
  35. ในญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้าดิบมาขูดเป็นฝอยลงในซีอิ๊วใช้เป็นน้ำจิ้ม
  36. มีการนำมาแปรรูปเป็นหัวไช้โป๊ว ดอกเค็ม ตากแห้งเพื่อรับประทาน
  37. ในตำราอาหารญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ต้มปลาหมึกตัวสดกับหัวไชเท้า ว่ากันว่าจะช่วยทำให้เนื้อปลาหมึกนุ่มมาก
  38. หัวไชเท้ารักษาฝ้ากระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นพอละเอียดแล้วใส่น้ำมะนาว 1 ช้อนแกงแล้วปั่นในโถอีกครั้งเป็นอันเสร็จ วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้าให้นำมาทาให้ทั่วผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้ากระให้จางลงได้
  39. หัวไช้เท้าพอกหน้า การรักษาหน้าด้วยหัวไชเท้าอีกสูตร วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดไม่ต้องปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆประมาณ 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในโถปั่น แล้วใส่จมูกข้าวสาลีตามลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วปั่นจนละเอียดเป็นอันเสร็จ แล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้า หรือพอกตามตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีแล้วจึงล้างออก ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง (สำหรับบางคนการใช้ในช่วงระยะแรกอาจจะมีอาการแสบแดงบ้างเล็กน้อย ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ หากทำไปสักระยะก็จะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น)



การแปรรูปผักกาดหัว




หัวไชโป้ว(Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวาน
อาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกัน
หัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วย
ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตาม
การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว
อุปกรณ์และวิธีทำ
วัตถุดิบ 
1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
2. เกลือ
3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์ 
1. มีด
2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
3. กระด้ง
4. ถุงผ้า
วิธีทำ 
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดดต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน
7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ 7 วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ 2 ชั่วโมง
2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม 1 ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน
5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
2. แช่น้ำปูนใสประมาณ 1 ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2 ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
4. ต้มน้ำปลา 1 ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้
การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป



อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=9GNardWZA6g
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=76&i2=36










วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกระสังพิทยาคม

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน


ต้นบุหงาส่าหรี


ชื่อพรรณไม้     
 :
บุหงาส่าหรี
  

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citharexylum spinosum. L. 

ชื่อวงศ์            :Verbenaceae หรือ Labiatac (Lamiaceac) 

ชื่อสามัญ         :Common lime 

ชื่อพื้นเมือง       :บุหงาบาหลี บุหงาแต่งงาน ราชาวดี

ถิ่นกำเนิด         : หมู่เกาะเวสต์อินดีส ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด


ลักษณะทั่วไป

ต้น    :ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 ม. ม ทรงพุ่มโปรง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก 



ใบ     :ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก ก้านใบสีส้ม 




ดอก    :ช่อดอกสีขาว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกติดกัน ตอนปลาย 4-5 แฉก มีกลิ่นหอมในชาวงกลางคืนจนถึงสาย ๆ


การขยายพันธุ์ 
- การตอน กิ่งค่อนข้างเปราะ ต้องระวังกิ่งหักมากๆค่ะ เพราะลำต้นอ่อนและเปราะค่ะ

- การปักชำ นิยมปักชำกิ่งที่มียอดอ่อน

 ข้อแนะนำ 
บุหงา ส่าหรีเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการน้ำไม่มากแต่ต้องการบ่อยครั้ง เมื่อปลูกไปหลายๆ ปีควรมีการตัดแต่งครั้งใหญ่ๆ สักครั้งหนึ่ง จะช่วยให้ขนาดของใบและดอกดีขึ้นการ

การสังเกตว่าปริมาณน้ำที่ต้นบุหงาส่าหรีได้รับเพียงพอหรือไม่ ให้ใช้หลักการสังเกตสีของใบค่ะ หมายความว่า ถ้าสีของใบจะมีสีค่อนข้างเหลือง แสดงว่าขาดน้ำ นะคะ

บุหงาส่าหรีมักมีการออกดอกบริเวณที่เป็นกิ่งอ่อน


ประโยชน์ 

-เป็นไม้ประดับมีกลิ่นหอม
-พุ่มใู่ห้ร่มเงาได้ อยูกลางแจ้งได้
-ปลูกง่ายขึ้นได้ในดินทุกชนิด

วิดิโอ



อ้างอิง
http://www.baanmaha.com/community/thread42222.html

https://www.youtube.com/watch?v=0GKORcHSTkE

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5

http://www.nanagarden.com/shop/3418/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5-chinese-rose/02103

http://www.thaitreeflowers.com/view.php?id=20110929164119.0

ประวัติส่วนตัว นางสาวปาริชาต มงคลชาติ



ชื่อ นางสาว ปาริชาต มงคลชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เลขที่ 15
ศึกษาอยู่โรงเรียนกระสังพิทยาคม
คุณครูที่ปรึกษา 1. นายฐานิศวร์ ผลเจริญ
                            2. นายวรวุฒิ บุตรศรึภูมิ
อาหารที่ชอบ อาหารที่มีรสเผ็ด
สีที่ชอบ สีม่วง
ลักษณะนิสัย ใจร้อน มีเหตุผล รักเด็ก 
เลขที่ชอบ 7 และ 5
ลักษณะบุคคลที่ชอบ คนที่สามารถเป็นผู้ตามที่ดีของเราได้
โรคประจำตัว โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
อาชีพที่ใฝ่ฝัน อาชีพที่ทำเพื่อพัฒนา ดูแลเด็กๆและคนชรา
มหาวิทยาลัยที่อยากเข้าเรียนต่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
วิชาที่ชอบ ชอบพอๆกันไม่มีพิเศษ
ที่อยู่ 597 หมู่ 9 ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 31160

https://www.google.co.th/maps/@14.923577,103.297427,3a,15y,17.55h,88.25t/data=!3m6!1e1!3m4!1s2PF5kQGpHXt-pO5ckayJgg!2e0!7i13312!8i6656?hl=th
ลักษณะของบ้าน